วันอาทิตย์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สารสนเทศศาสตร์

นาย สุทธิพงษ์ ทองวงษ์ รหัส 5311173159

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์  หรือ  สมองกล”  หมายถึง  เครื่องจักรกลที่สร้างขึ้นมาให้สามารถรับข้อมูลที่มีอยู่ทั่วไปพร้อมคำสั่ง แล้วดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูง  ถูกต้อง  แม่นยำ เช่น  การบันทึกข้อมูล  การคิดคำนวณตัวเลข  เป็นต้น
 คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
        ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคตก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติหลายอย่าง
ความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย
ระบบปฏิบัติการและการเปิด-ปิดเครื่อง
                ระบบปฏิบัติการ(OS: Operating System)คือโปรแกรมหลักที่คอมพิวเตอร์จะใช้ในการควบคุมบู๊ตสู่ระบบ จนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการทำงานของระบบปฏิบัติการเต็มรูปแบบ โดยจะคอยเป็นตัวประสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์ของเครื่อง เช่น ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ เมนบอร์ด และ  ซีดีรอมไดรว์  ฯลฯ กับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆผ่านการป้อนข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้(User) ทั่วไป
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (software)
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้

ประเภทของซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
ฮาร์ดแวร์(Hardware)     ส่วนต่างๆที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง เช่น เมาส์  คีย์บอร์ด ลำโพง จอภาพ ฮาร์ดดิสก์ เมนบอร์ด ซีพียูแรม ซีดีรอมไดวว์ อุปกรณ์การ์ดต่างๆได้แก่ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียงและการ์ด LAN เป็นต้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกสร้างในปี ค.ศ 1960 ที่องค์กรของสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ความเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซูเปอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการใช้หลักทีเรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัว เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน โดยที่งานเหล่านั้นมีความแตกต่างกัน งานที่ไม่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปในประมวลผลแต่ละตัวก็ทำงานได้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลกลางทั้งหมด 4 ตัว แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีความพัฒนามากจึงทำให้มีหน่วยประมวลผลนับร้อยตัวทำงานพร้อม ๆ กัน
เมนเฟรม (Mainframe)
เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไป จัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งในช่วงปลาย ค.ศ 1950 บริษัท IBM จัดเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์
เครื่องเมนเฟรมนิยมมาใช้ในงานที่มีการรับและแสดงผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ เครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะได้การพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวนประมวลผลน้อยกว่า หน่วยเมนเฟรมจัดอยู่ในความเร็วของหน่วย เมกะฟรอป (megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ 1960 ต่อมาจากบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ประกาศตัวมินิคอมพิวเตอร์ DEC POP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ 1965 ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเมนเฟรมมาก เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเมนเฟรม โดยจะสามารถรองรับผู้ใช้ได้ประมาณ 200 คนพร้อม ๆ กัน แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือความเร็วในการทำงาน เนื่องจาก เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้ากว่าการควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ การะทำได้ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้งสื่อที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ มีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรม ดังนั้นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จึงจัดได้ว่ามินิคอมพิวเตอร์เป็นขนาดกลาง
เวิร์คสเตชัน (Workstation) และไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
ในการทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น จะทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้เอง โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีจากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ     คือ  การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
-  งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
-  งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
-  งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
-  งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
-  งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
-  การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
แนวโน้มของการพัฒนาของทางด้านคอมพิวเตอร 
การพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 
บุคลากรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
บุคลากรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
       ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้หากขาดองค์ประกอบทางด้านบุคลากรที่จะเป็นผู้จัดการและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น คอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขั้นกับระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกพัฒนาขึ้น

คำถามท้ายบท
1.ซอฟแวร์คืออะไร
.อุปกรณ์ที่ใช้ในการพิมพ์
.อุปกรณ์แสดงผล
.ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งงานคอมพิวเตอร์
.อุปกรณ์ในการชี้ตำแหน่งหน้าจอ
.อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอก

2.ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
.4 ประเภท คือ อุปกรณ์ต่อพ่วง แรม ซอฟแวร์ จอภาพ
.2 ประเภท คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์
.3 ประเภท คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ มินิคอมพิวเตอร์
.5 ประเภท คือ อุปกรณ์ต่อพ่วง ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ แรม มินิคอมพิวเตอร์
.2 ประเภท ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์

3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ซอฟแวร์ประยุกต์
1.โปรแกรม Photoshop
2.โปรแกรม Microsoft Word
3.โปรแกรม Microsoft Power Point
4.ระบบปฏิบัติการ Window XP
5.โปรแกรม Internet Exploler

4. คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
.4 ประเภท คือ ซุเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม  มินิคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์
.2 ประเภท คือ เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์
.3 ประเภท คือ เมนเฟรม ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์
.2 ประเภท คือ ซุเปอร์คอมพิวเตอร์   ซอฟแวร์
.4 ประเภท คือ ซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์ มินิคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์

5.ฮาร์ดแวร์ คืออะไร
.โปรแกรมพิมพ์งาน
.เมาส์ และ จอภาพ
.โปรแกรมป้องกันไวรัส
.โปรแกรมในการสร้างเว็บไซต์
.Microsoft Word
บรรณานุกรม
มงคล  แก้วเกษการ.  (2548).    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.   ค้นคืนเมื่อ    
               มิถุนายน 13 ,2554, จาก  http://61.91.205.171/@ongarge_col/biblio.html .
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.  ซอฟแวร์.  ค้นคืนเมื่อ   
               มิถุนายน 13, 2554, จากhttp://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/sofeware/
               Index.html
ไพบูลย์  เปียสิริ.  (2548).  คอมพิวเตอร์สำหรับมือใหม่. ฉะเชิงเทรา : พีเอ็นเอ็น .
โสภาพร แก้วเกษการ และ อวยพร โกมลวิจิตรกุล. (2548).   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
             คอมพิวเตอร์.     กรุงเทพฯ :  อินฟอเมชั่น เทคโนโลยี จำกัด

วันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2554


ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
ความหมายของคอมพิวเตอร์
      คอมพิวเตอร์  หรือ  สมองกล”  หมายถึง  เครื่องจักรกลที่สร้างขึ้นมาให้สามารถรับข้อมูลที่มีอยู่ทั่วไปพร้อมคำสั่ง แล้วดำเนินการเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการออกมาในรูปแบบต่าง ๆ ด้วยความเร็วสูง  ถูกต้อง  แม่นยำ เช่น  การบันทึกข้อมูล  การคิดคำนวณตัวเลข  เป็นต้น
 คุณสมบัติของคอมพิวเตอร์
        ปัจจุบันนี้คนส่วนใหญ่นิยมนำคอมพิวเตอร์มาใช้งานต่าง ๆ มากมาย ซึ่งผู้ใช้ส่วนใหญ่มักจะคิดว่าคอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือที่สามารถทำงานได้สารพัด แต่ผู้ที่มีความรู้ทางคอมพิวเตอร์จะทราบว่า งานที่เหมาะกับการนำคอมพิวเตอร์มาใช้อย่างยิ่งคือการสร้าง สารสนเทศ ซึ่งสารสนเทศเหล่านั้นสามารถนำมาพิมพ์ออกทางเครื่องพิมพ์ ส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ หรือจัดเก็บไว้ใช้ในอนาคตก็ได้ เนื่องจากคอมพิวเตอร์จะมีคุณสมบัติหลายอย่าง
ความผิดปกติของทารกในครรภ์ และในทางการแพทย์อื่น ๆ อีกมากมาย
ระบบปฏิบัติการและการเปิด-ปิดเครื่อง
                ระบบปฏิบัติการ(OS: Operating System)คือโปรแกรมหลักที่คอมพิวเตอร์จะใช้ในการควบคุมบู๊ตสู่ระบบ จนกระทั่งเข้าสู่กระบวนการทำงานของระบบปฏิบัติการเต็มรูปแบบ โดยจะคอยเป็นตัวประสานการทำงานระหว่างฮาร์ดแวร์ของเครื่อง เช่น ซีพียู แรม ฮาร์ดดิสก์ เมนบอร์ด และ  ซีดีรอมไดรว์  ฯลฯ กับโปรแกรมประยุกต์ต่างๆผ่านการป้อนข้อมูลหรือคำสั่งจากผู้ใช้(User) ทั่วไป
อุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ซอฟต์แวร์ (software)
ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่ใช้สั่งงานให้คอมพิวเตอร์ทำงาน ซอฟต์แวร์จึงหมายถึงลำดับขั้นตอนการทำงานที่เขียนขึ้นด้วยคำสั่งของคอมพิวเตอร์ คำสั่งเหล่านี้เรียงกันเป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ จากที่ทราบมาแล้วว่าคอมพิวเตอร์ทำงานตามคำสั่ง การทำงานพื้นฐานเป็นเพียงการกระทำกับข้อมูลที่เป็นตัวเลขฐานสอง ซึ่งใช้แทนข้อมูลที่เป็นตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือแม้แต่เป็นเสียงพูดก็ได้

ประเภทของซอฟแวร์
ซอฟต์แวร์ระบบ คือซอฟต์แวร์ที่บริษัทผู้ผลิตสร้างขึ้นมาเพื่อใช้จัดการกับระบบ หน้าที่การทำงานของซอฟต์แวร์ระบบคือดำเนินงานพื้นฐานต่าง ๆ ของระบบคอมพิวเตอร์ เช่น รับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระแล้วแปลความหมายให้คอมพิวเตอร์เข้าใจ นำข้อมูลไปแสดงผลบนจอภาพหรือนำออกไปยังเครื่องพิมพ์ จัดการข้อมูลในระบบแฟ้มข้อมูลบนหน่วยความจำรอง
ซอฟต์แวร์ประยุกต์ เป็นซอฟต์แวร์ที่ใช้กับงานด้านต่าง ๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ ที่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรง ปัจจุบันมีผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ใช้งานทางด้านต่าง ๆ ออกจำหน่ายมาก การประยุกต์งานคอมพิวเตอร์จึงกว้างขวางและแพร่หลาย เราอาจแบ่งซอฟต์แวร์ประยุกต์ออกเป็นสองกลุ่มคือ ซอฟต์แวร์สำเร็จ และซอฟต์แวร์ที่พัฒนาขึ้นใช้งานเฉพาะ ซอฟต์แวร์สำเร็จในปัจจุบันมีมากมาย เช่น ซอฟต์แวร์ประมวลคำ ซอฟต์แวร์ตารางทำงาน ฯลฯ
ฮาร์ดแวร์(Hardware)     ส่วนต่างๆที่ประกอบกันขึ้นมาเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สามารถมองเห็นและจับต้องได้ทั้งที่อยู่ภายในและภายนอกตัวเครื่อง เช่น เมาส์  คีย์บอร์ด ลำโพง จอภาพ ฮาร์ดดิสก์ เมนบอร์ด ซีพียูแรม ซีดีรอมไดวว์ อุปกรณ์การ์ดต่างๆได้แก่ การ์ดแสดงผล การ์ดเสียงและการ์ด LAN เป็นต้น
ประเภทของคอมพิวเตอร์
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (supercomputer)
ซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นแรกสร้างในปี ค.ศ 1960 ที่องค์กรของสหรัฐอเมริกา โดยได้รับการออกแบบให้เป็นคอมพิวเตอร์ที่ความเร็วและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ซูเปอร์ทำงานได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากมีการใช้หลักทีเรียกว่า มัลติโปรเซสซิ่ง (Multiprocessing) อันเป็นใช้หน่วยประมวลผลจำนวนหลายตัว เพื่อทำให้คอมพิวเตอร์สามารถทำงานหลายงานพร้อมกัน โดยที่งานเหล่านั้นมีความแตกต่างกัน งานที่ไม่เกี่ยวข้อง หรืออาจจะเป็นงานที่มีขนาดใหญ่ที่ถูกแบ่งย่อยไปในประมวลผลแต่ละตัวก็ทำงานได้ ซูเปอร์คอมพิวเตอร์มีหน่วยประมวลกลางทั้งหมด 4 ตัว แต่ปัจจุบันคอมพิวเตอร์มีความพัฒนามากจึงทำให้มีหน่วยประมวลผลนับร้อยตัวทำงานพร้อม ๆ กัน
เมนเฟรม (Mainframe)
เครื่องเมนเฟรมเป็นเครื่องที่ได้รับความนิยมใช้ในองค์กรขนาดใหญ่ทั่วๆไป จัดเป็นเครื่องที่มีประสิทธิภาพรองลงมาจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ ซึ่งในช่วงปลาย ค.ศ 1950 บริษัท IBM จัดเป็นบริษัทยักษ์ใหญ่ในวงการอุตสาหกรรมคอมพิวเตอร์
เครื่องเมนเฟรมนิยมมาใช้ในงานที่มีการรับและแสดงผลข้อมูลจำนวนมาก ๆ เครื่องรุ่นใหม่ ๆ จะได้การพัฒนาให้มีหน่วยประมวลผลหลายหน่วยทำงานพร้อม ๆ กันเช่นเดียวกับซูเปอร์คอมพิวเตอร์ แต่มีจำนวนประมวลผลน้อยกว่า หน่วยเมนเฟรมจัดอยู่ในความเร็วของหน่วย เมกะฟรอป (megaflop) หรือการคำนวณหนึ่งล้านครั้งในหนึ่งวินาที
มินิคอมพิวเตอร์ (Minicomputer)
เริ่มพัฒนาขึ้นใน ค.ศ 1960 ต่อมาจากบริษัท Digital Equipment Corporation หรือ DEC ได้ประกาศตัวมินิคอมพิวเตอร์ DEC POP-8 (Programmed Data Processor) ในปี ค.ศ 1965 ซึ่งได้รับความนิยมจากบริษัทหรือองค์กรที่มีขนาดกลาง เพราะมีราคาถูกกว่าเมนเฟรมมาก เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะใช้หลักการของมัลติโปรแกรมมิงเช่นเดียวกับเมนเฟรม โดยจะสามารถรองรับผู้ใช้ได้ประมาณ 200 คนพร้อม ๆ กัน แต่สิ่งที่แตกต่างระหว่างเครื่องเมนเฟรมและเครื่องมินิคอมพิวเตอร์ ก็คือความเร็วในการทำงาน เนื่องจาก เครื่องมินิคอมพิวเตอร์จะทำงานได้ช้ากว่าการควบคุมผู้ใช้งานต่าง ๆ การะทำได้ในจำนวนที่น้อยกว่า รวมทั้งสื่อที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ มีความจุไม่สูงเท่าเมนเฟรม ดังนั้นเครื่องมินิคอมพิวเตอร์จึงจัดได้ว่ามินิคอมพิวเตอร์เป็นขนาดกลาง
เวิร์คสเตชัน (Workstation) และไมโครคอมพิวเตอร์ (Micro Computer)
ในการทำงานบนเครื่องเมนเฟรมหรือมินิคอมพิวเตอร์ ผู้ใช้จะสามารถควบคุมการรับข้อมูลและดูการแสดงผลบนจอภาพได้เท่านั้น ไม่สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างอื่น ๆ ได้ แต่การใช้ระบบคอมพิวเตอร์ชนิดที่มีผู้ใช้คนเดียวนั้น จะทำให้ผู้ใช้สามารถควบคุมอุปกรณ์รอบข้างต่าง ๆ ได้ทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นหน่วยรับข้อมูล หน่วยประมวลผล หน่วยแสดงผล ตลอดจนหน่วยเก็บข้อมูลสำรอง นอกจากนี้ ผู้ใช้สามารถเลือกใช้โปรแกรมได้เอง โดยไม่ต้องกังวลว่าจะต้องไปแย่งเวลาการเรียกใช้ข้อมูลกับผู้ใช้อื่น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีจากการที่คอมพิวเตอร์มีลักษณะเด่นหลายประการ     คือ  การใช้ในการพิมพ์เอกสารต่างๆ เช่น พิมพ์จดหมาย รายงาน เอกสารต่างๆ ซึ่งเรียกว่างานประมวลผล ( word processing ) นอกจากนี้ยังมีการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ในด้านต่างๆ อีกหลายด้าน ดังต่อไปนี้
-  งานธุรกิจ เช่น บริษัท ร้านค้า ห้างสรรพสินค้า ตลอดจนโรงงานต่างๆ ใช้คอมพิวเตอร์ในการทำบัญชี งานประมวลคำ และติดต่อกับหน่วยงานภายนอกผ่านระบบโทรคมนาคม นอกจากนี้งานอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่ก็ใช้คอมพิวเตอร์มาช่วยในการควบคุมการผลิต และการประกอบชิ้นส่วนของอุปกรณ์ต่างๆ เช่น โรงงานประกอบรถยนต์ ซึ่งทำให้การผลิตมีคุณภาพดีขึ้นบริษัทยังสามารถรับ หรืองานธนาคาร ที่ให้บริการถอนเงินผ่านตู้ฝากถอนเงินอัตโนมัติ ( ATM ) และใช้คอมพิวเตอร์คิดดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน และการโอนเงินระหว่างบัญชี เชื่อมโยงกันเป็นระบบเครือข่าย
-  งานวิทยาศาสตร์ การแพทย์ และงานสาธารณสุข สามารถนำคอมพิวเตอร์มาใช้ในนำมาใช้ในส่วนของการคำนวณที่ค่อนข้างซับซ้อน เช่น งานศึกษาโมเลกุลสารเคมี วิถีการโคจรของการส่งจรวดไปสู่อวกาศ  หรืองานทะเบียน การเงิน สถิติ และเป็นอุปกรณ์สำหรับการตรวจรักษาโรคได้ ซึ่งจะให้ผลที่แม่นยำกว่าการตรวจด้วยวิธีเคมีแบบเดิม และให้การรักษาได้รวดเร็วขึ้น
-  งานคมนาคมและสื่อสาร ในส่วนที่เกี่ยวกับการเดินทาง จะใช้คอมพิวเตอร์ในการจองวันเวลา ที่นั่ง ซึ่งมีการเชื่อมโยงไปยังทุกสถานีหรือทุกสายการบินได้ ทำให้สะดวกต่อผู้เดินทางที่ไม่ต้องเสียเวลารอ อีกทั้งยังใช้ในการควบคุมระบบการจราจร เช่น ไฟสัญญาณจราจร และ การจราจรทางอากาศ หรือในการสื่อสารก็ใช้ควบคุมวงโคจรของดาวเทียมเพื่อให้อยู่ในวงโคจร ซึ่งจะช่วยส่งผลต่อการส่งสัญญาณให้ระบบการสื่อสารมีความชัดเจน
-  งานวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม สถาปนิกและวิศวกรสามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบ หรือ จำลองสภาวการณ์ ต่างๆ เช่น การรับแรงสั่นสะเทือนของอาคารเมื่อเกิดแผ่นดินไหว โดยคอมพิวเตอร์จะคำนวณและแสดงภาพสถานการณ์ใกล้เคียงความจริง รวมทั้งการใช้ควบคุมและติดตามความก้าวหน้าของโครงการต่างๆ เช่น คนงาน เครื่องมือ ผลการทำงาน
-  งานราชการ เป็นหน่วยงานที่มีการใช้คอมพิวเตอร์มากที่สุด โดยมีการใช้หลายรูปแบบ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับบทบาทและหน้าที่ของหน่วยงานนั้นๆ เช่น กระทรวงศึกษาธิการ มีการใช้ระบบประชุมทางไกลผ่านคอมพิวเตอร์ , กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเพื่อเชื่อมโยงไปยังสถาบันต่างๆ , กรมสรรพากร ใช้จัดในการจัดเก็บภาษี บันทึกการเสียภาษี เป็นต้น
-  การศึกษา ได้แก่ การใช้คอมพิวเตอร์ทางด้านการเรียนการสอน ซึ่งมีการนำคอมพิวเตอร์มาช่วยการสอนในลักษณะบทเรียน CAI หรืองานด้านทะเบียน ซึ่งทำให้สะดวกต่อการค้นหาข้อมูลนักเรียน การเก็บข้อมูลยืมและการส่งคืนหนังสือห้องสมุด
แนวโน้มของการพัฒนาของทางด้านคอมพิวเตอร 
การพัฒนา เทคโนโลยีสารสนเทศในคริสต์ศตวรรษที่21มีแนวโน้มที่จะพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถใกล้เคียงกับมนุษย์ เช่น การเข้าภาษาสื่อสารของมนุษย์ โครงข่ายประสาทเทียม ระบบจำลอง ระบบเสมือนจริง โดยพยายามนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์มากขึ้นลดข้อผิดพลาดและป้องกันไม่ให้นำไป ใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องหรือผิดกฎหมาย 
บุคลากรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยี
บุคลากรหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
       ระบบคอมพิวเตอร์จะประกอบด้วยองค์ประกอบทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ แต่ระบบคอมพิวเตอร์จะไม่สามารถทำงานได้หากขาดองค์ประกอบทางด้านบุคลากรที่จะเป็นผู้จัดการและควบคุมระบบคอมพิวเตอร์ให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างราบรื่น คอยแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขั้นกับระบบคอมพิวเตอร์ พัฒนาโปรแกรมประยุกต์ต่าง ๆ รวมไปถึงการใช้งานโปรแกรมประยุกต์ที่ถูกพัฒนาขึ้น

คำถามท้ายบท
1.ซอฟแวร์คืออะไร
.อุปกรณ์ที่ใช้ในการพิมพ์
.อุปกรณ์แสดงผล
.ชุดคำสั่งหรือโปรแกรมที่สั่งงานคอมพิวเตอร์
.อุปกรณ์ในการชี้ตำแหน่งหน้าจอ
.อุปกรณ์ต่อพ่วงภายนอก

2.ส่วนประกอบของคอมพิวเตอร์สามารถแบ่งออกเป็นกี่ประเภท  อะไรบ้าง
.4 ประเภท คือ อุปกรณ์ต่อพ่วง แรม ซอฟแวร์ จอภาพ
.2 ประเภท คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์
.3 ประเภท คือ ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ มินิคอมพิวเตอร์
.5 ประเภท คือ อุปกรณ์ต่อพ่วง ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์ แรม มินิคอมพิวเตอร์
.2 ประเภท ฮาร์ดแวร์ ซอฟแวร์

3.ข้อใดต่อไปนี้ไม่ใช่ซอฟแวร์ประยุกต์
1.โปรแกรม Photoshop
2.โปรแกรม Microsoft Word
3.โปรแกรม Microsoft Power Point
4.ระบบปฏิบัติการ Window XP
5.โปรแกรม Internet Exploler

4. คอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง
.4 ประเภท คือ ซุเปอร์คอมพิวเตอร์ เมนเฟรม  มินิคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์
.2 ประเภท คือ เมนเฟรม มินิคอมพิวเตอร์
.3 ประเภท คือ เมนเฟรม ไมโครคอมพิวเตอร์ มินิคอมพิวเตอร์
.2 ประเภท คือ ซุเปอร์คอมพิวเตอร์   ซอฟแวร์
.4 ประเภท คือ ซอฟแวร์ ฮาร์ดแวร์ มินิคอมพิวเตอร์ ไมโครคอมพิวเตอร์

5.ฮาร์ดแวร์ คืออะไร
.โปรแกรมพิมพ์งาน
.เมาส์ และ จอภาพ
.โปรแกรมป้องกันไวรัส
.โปรแกรมในการสร้างเว็บไซต์
.Microsoft Word
บรรณานุกรม
มงคล  แก้วเกษการ.  (2548).    ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์.   ค้นคืนเมื่อ    
               มิถุนายน 13 ,2554, จาก  http://61.91.205.171/@ongarge_col/biblio.html .
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ.  ซอฟแวร์.  ค้นคืนเมื่อ   
               มิถุนายน 13, 2554, จากhttp://web.ku.ac.th/schoolnet/snet1/software/sofeware/
               Index.html
ไพบูลย์  เปียสิริ.  (2548).  คอมพิวเตอร์สำหรับมือใหม่. ฉะเชิงเทรา : พีเอ็นเอ็น .
โสภาพร แก้วเกษการ และ อวยพร โกมลวิจิตรกุล. (2548).   ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับ
             คอมพิวเตอร์.     กรุงเทพฯ :  อินฟอเมชั่น เทคโนโลยี จำกัด